ศูนย์โรคหัวใจ

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท พร้อมดูแลทุกปัญหาโรคหัวใจ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และ เครื่องมือทันสมัยครบวงจร

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท มีความพร้อมในการดูแลทุกปัญหาโรคหัวใจ ทั้งโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน และ ปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสวนรักษาหลอดเลือดหัวใจ ที่มีประสบการณ์สูง และ เครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัย โดยมีศักยภาพการให้บริการรักษาโรคต่างๆ ดังนี้

ศักยภาพการตรวจรักษา

ปรึกษา/สอบถามเรื่องโรคหัวใจ ทุกวัน เวลา 8.00-17.00 น.

091 890 5266

ศูนย์หัวใจ ดูแลรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ และ พยาบาลวิชาชีพที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีห้องผู้ป่วยหนัก CCU รองรับการดูแลผู้ป่วยหนัก พร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินตลอดเวลา จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา

ขั้นตอนการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ

หัวใจ

คือ อวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและภายในกลวง อยู่บริเวณส่วนกลางใต้กระดูกหน้าอกค่อนข้างไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิต นำพาออกซิเจนและสารอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจของคนเราแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย

หัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น ๆ คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน (Sinus Node) กระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในหัวใจ เริ่มจากห้องบนขวาไปห้องบนซ้ายและลงหัวใจห้องล่าง เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ก็จะเกิดการหดตัวขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ

โรคหัวใจ หรือ Heart Disease

ปัจจุบันโรคหัวใจ และหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 54,530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คนเลยทีเดียว

โรคหัวใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิดดังนี้

หากท่านมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจโต และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ

อาการโรคหัวใจในเด็ก

อาการที่พบบ่อยในเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจทั้งโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคหัวใจเด็กที่เกิดภายหลังคลอด ได้แก่

รักษาโรคหัวใจในเด็ก สามารถให้การรักษาตามชนิดของโรคนั้น ๆ โดยทั่วไปมีวิธีรักษาดังต่อไปนี้

รู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ทั้งในเพศชายและหญิง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้มีภาวะหัวใจวายทุกๆ 40 วินาที และทุกนาทีมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 คน

สำหรับประเทศไทยพบแนวโน้มผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากปัจจัย ทั้งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เพศ อายุ กรรมพันธุ์ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย แม้โรคหัวใจจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิต แต่ก็สามารถป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

อาการ ที่ควรนึกถึงโรคหัวใจ

หากมีอาการข้างต้น ให้คิดไว้เสมอว่าอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจค่อนข้างชัดเจน แพทย์จะส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ และทำการรักษาต่อไป ควรมาตรวจคัดกรอง เพื่อให้แน่ใจว่ามีปัญหาโรคหัวใจหรือไม่ กับแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความรุนแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองลงมาจากโรคมะเร็ง หากรู้ตัวว่าเป็นแล้วต้องมีการดูแลตนเองเป็นอย่างดี เพื่อยืดอายุของคนไข้ให้ยาวนานขึ้น ด้วยการปรับพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากกระทำได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถต่อเวลาชีวิตออกไปได้

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

1.ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

2.ปัจจัยที่ควบคุมได้

ผลกระทบหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้หรือรู้ตัวช้า ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมตามเวลา เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีปัจจัยเสี่ยง ไขมันจะเริ่มเกาะที่ผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้หลอดเลือดตีบหรือแคบลง ส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการปริแตกของหลอดเลือด เกล็ดเลือดหลุดเข้าไปอุดตันทางเดินของหลอดเลือด และเมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจเกินร้อยละ 50 คนไข้จะเริ่มมีอาการแสดง

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

หากคนไข้พบแพทย์ด้วยอาการแน่นหน้าอก หรืออาการอื่นที่กล่าวมาข้างต้น คนไข้จะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที และเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของหัวใจ หากสูงขึ้นแสดงว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ ร่วมกับซักประวัติคนไข้ สอบถามระยะเวลาที่เจ็บแน่นหน้าอก หากมากกว่า 20 นาที อาจเกี่ยวข้องกับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่หัวใจมีความอ่อนแรงและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามที่ต้องการ

สาเหตุ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือขาดเลือด

ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวเองได้อย่างไร

สัญญาณเตือน นอนโรงพยาบาลเพราะน้ำท่วมปอด หากมีอาการต่อไปนี้ให้โทรศัพท์ถึงพยาบาลประจำคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว หรือมาพบแพทย์

Promotion Package

สถานที่ตั้ง

ชั้น 2 อาคาร 80 พรรษา (2 ชั้น) โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1

วัน และเวลาทำการ

บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

กรุณาโทรจองนัดหมายก่อนรับบริการ

โทร.02-769-2000 ต่อ 1700,1007

โทร.091-8905266

แพทย์ประจำแผนก

/* */